ปุจฉา : ตลาดหลักทรัพย์เองก็ใช้หัวใจเศรษฐี โดย “เปลี่ยนเงิน ให้เป็นบุญ
และเปลี่ยนทุนให้เป็นธรรม” ด้วยการแบ่งปันเชิง ปัญญาด้านการศึกษา ทำหนังสือให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้รู้จักหา รู้จักเก็บ รู้จักใช้ รู้จักลงทุนขยายผล สร้างภูมิคุ้มกันด้านการบริหารจัดการเงินให้แก่สังคมไทย โดยตลาดหุ้นอยู่ใกล้กับธรรมะ สามารถให้คนทั่วไปเป็นเศรษฐีได้ด้วยธรรมะและด้วย ทุนทางปัญญา พร้อมกันนี้ ขอถามแทนคนทำงานว่า ที่การแข่งขัน เกิดขึ้นในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ ระหว่างธุรกิจ องค์กรธุรกิจ และคนในองค์กรด้วยกันเอง ในทางหนึ่งการแข่งขันก็เป็นพลังที่ ทำให้คนเราอยากทำให้ตัวเองเจริญก้าวหน้าและเติบโต ซึ่งส่ง ผลดีกับองค์กรธุรกิจ แต่การแข่งขันก็เป็นทุกข์ในบางครั้ง ถ้าชนะ ก็มีความสุข ถ้าไม่ชนะก็มีความทุกข์ ทำอย่างไรให้การทำงาน มีการแข่งขัน มีพลัง ในขณะเดียวกันก็มีความสุขด้วย ไม่เบียดเบียนวิสัชนา: เรื่องการแข่งขันก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่บางครั้งคนที่สนใจธรรมะไม่อยากเข้ามายุ่งด้วย เพราะมองว่าเป็น กิจกรรมทางโลก เป็นกิจกรรมของคนที่มีกิเลส แต่แท้จริงแล้ว การแข่งขันมีสองรูปแบบ หนึ่ง การแข่งขันที่เป็นธรรม สอง คือ การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม การแข่งขันที่เป็นธรรมนั้นเป็นทาง สายกลางที่ธรรมะยอมรับได้ แต่การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม คือมีการเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่มีคุณธรรม การแข่งขันแบบ ก็อดฟาเธอร์ เสนอเงื่อนไขแบบปฏิเสธไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้ในทางธรรมะก็ยอมรับไม่ได้
การแข่งขันในทางพุทธศาสนายอมรับ คือการแข่งขัน ที่เป็นธรรม ผู้แข่งขันต่างต้องตระหนักรู้ในกติการ่วมกัน ไม่กีดกั้น ตั้งแต่ต้น ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เป็นการแข่งขันที่เป็นไปได้ หลักง่ายๆ ที่สำาคัญถ้าจะแข่งขันให้เป็นสุข คือ การแข่งขันที่ไม่เบียดเบียนตน และไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียดเบียนตน หมายความว่า ไม่ได้มุ่งจะแข่งขันให้มีเงินมีทองมากมายมหาศาล แต่เมื่อกลับเข้าบ้าน คุณไม่มีเวลากินข้าวกับลูก และภรรยาเลย หรือทะเลาะกันเป็นปีๆ แต่คุณทำาดีได้กับลูกน้องทุกคน อย่างนี้ไม่ถูกต้อง ขอให้ถือหลักทางสายกลาง ของการแข่งขันว่า การทำางานหรือการแข่งขันประสานกับ คุณภาพของชีวิต นั่นก็คือผลสัมฤทธิ์ของการแข่งขันบนทางสายกลาง คุณภาพชีวิตก็ยังดีอยู่ และเราก็ประสบความสำาเร็จ ด้วยพุทธศาสนาก็ยอมรับได้ แต่ถ้าเราแข่งขันแล้วตัวเอง ก็ป่วย และเราก็หาวิธีทำาร้ายคู่แข่งทั้งด้านเปิดเผยและด้านมืด ถ้าเป็นอย่างนี้พุทธศาสนาก็ยอมรับไม่ได้ สอง ในการแข่งขันนั้น จะดูว่าเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม พุทธศาสนายอมรับได้หรือ ไม่ได้ ให้ไปดูที่แรงจูงใจในการแข่งขัน ถ้าแรงจูงใจนั้นมาจาก ความโลภล้วนๆ ไม่มีสติเลย ไม่คำานึงถึงสังคมเลย มุ่งกำาไร สูงสุดอย่างเดียว ไม่สนใจว่าขณะที่ฉัน กำาไรประเทศชาติต้อง ขาดทุนเท่าไหร่ เป็นทุนนิยมที่ไม่มีหัวใจล้วนๆ โดยโลภะ คือ ใช้ความโลภนำาทาง นี่เป็นการแข่งขันที่พุทธศาสนาไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแข่งกันไปเพื่อหายนะ แต่ถ้าเป็นการแข่งขัน บนแรงจูงใจอีกอย่างคือ ปัญญา ปัญญารู้คิด รู้พิจารณาใน การแข่งขัน ทำาอย่างปัญญาชน คนมีอารยธรรมเขาทำากัน เมื่อเราแข่งขันได้เงิน ได้ทอง ได้กำาไรมา เราก็ไม่ทิ้งสังคมเรายังเผื่อแผ่แบ่งปันเจือจานสังคมด้วย นี่ก็เป็นการแข่งขันบนรากฐานของปัญญา ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนสังคม ขณะเดียวกันแรงจูงใจก็เกิดจากปัญญา ไม่ใช่เพราะหน้ามืดตามัว จองล้างจองผลาญให้จบให้สิ้นไป ถ้าไม่ใช่อย่างนั้นก็แข่งขันได้
กล่าวอย่างสั้นที่สุด การแข่งขันที่มีแต่สุข ประการแรก คือ ต้องอยู่บนทางสายกลาง คือ คุณภาพชีวิตและคุณภาพ ของการแข่งขันนั้นบรรจบกันได้ ประการที่สอง แรงจูงใจของการแข่งขันนั้นมีปัญญากำากับด้วยเสมอไป ก็เป็นการแข่งขันที่เป็นไปได้ในโลกของความเป็นจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น