ซื้อขายแบบดั้งเดิมคืออะไร | |||||||||
ก็คือการซื้อขายหุ้นโดยการส่งคำสั่งผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด หรือที่เรามักเรียกกันว่า มาร์เก็ตติ้ง (Marketing) นั่นแหละ ในสมัยก่อน เมื่อนักลงทุนต้องการส่งคำสั่งซื้อขาย ก็ต้องเดินทางไปห้องค้า กรอกใบรับคำสั่ง และยื่นให้เจ้าหน้าที่การตลาดด้วยตนเอง ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีสื่อสารดีขึ้น โบรกเกอร์ก็สามารถรับคำสั่งซื้อขายทางโทรศัพท์ได้ ส่วนการตรวจสอบสถานะของคำสั่งว่าซื้อขายได้หรือไม่ ก็ต้องผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดเช่นกัน
| |||||||||
| |||||||||
1. บัญชีเงินสด (Cash Account)
เป็นบัญชีสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์เต็มจำนวนด้วยเงินสด ซึ่งต้องชำระราคาค่าซื้อขายและส่งมอบหลักทรัพย์ภายในวันทำการที่ 3 ถัดจากวันที่ซื้อขาย (T+3) โดยคุณจะต้องซื้อขายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งมูลค่าวงเงินนี้สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามสัดส่วนมูลค่าของการซื้อขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง เมื่อคุณซื้อ มูลค่าก็จะลดลง เมื่อคุณชำระค่าซื้อแล้วหรือขายหลักทรัพย์ได้ มูลค่าก็จะเพิ่มขึ้น และในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ได้มีการกำหนดให้ผู้ที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ต้องมีหลักประกันเริ่มต้น 10 % เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า บริษัทสมาชิก และตลาดทุนโดยรวม 2. บัญชีมาร์จิ้นแบบเครดิตบาลานซ์ (Margin Account-Credit Balance) เป็นบัญชีสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์โดยการกู้ยืมเงินจากโบรกเกอร์ หรือต้องการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต ซึ่งถ้าคุณเลือกเปิดบัญชีประเภทนี้ คุณจะต้องได้รับอนุมัติวงเงินและต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันตามอัตราที่แต่ละโบรกเกอร์กำหนดก่อน นอกจากนั้น อาจมีหลักทรัพย์เพียงบางหลักทรัพย์เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายในบัญชีมาร์จิ้นได้ ส่วนใหญ่จะเป็นหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET50 หลักทรัพย์ที่ซื้อจะนำมาถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักประกันเพื่อค้ำชำระหนี้ด้วย และโบรกเกอร์บางแห่งก็อาจกำหนดว่าลูกค้าจะต้องเปิดบัญชีเงินสดระยะหนึ่งก่อนจึงจะขอเปิดบัญชีมาร์จิ้นได้ บางแห่งก็สามารถเปิดได้เลย ซึ่งคุณคงต้องเลือกโบรกเกอร์ที่เสนอเงื่อนไขที่คุณพอใจและยอมรับได้ | |||||||||
การซื้อขายแบบดั้งเดิมต่างจากผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างไร | |||||||||
การซื้อขายทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกันอยู่บ้างดังนี้ | |||||||||
| |||||||||
ต้องมีเงินแค่ไหนจึง จะเปิดบัญชีได้ | |||||||||
โดยทั่วไปบริษัทสมาชิกจะขอให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัท ต้องมีหลักประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ แต่โบรกเกอร์อาจจูงใจคุณมาเป็นลูกค้าด้วยการยกเว้นเงินค้ำประกัน หรืออาจจะเรียกร้องให้คุณวางหลักทรัพย์หรือเงินฝาก/บัญชีเงินฝากไว้ที่บริษัท หรือฝากตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทเงินทุนที่เกี่ยวข้องกันอยู่ก็ได้ ซึ่งดอกเบี้ยของคุณก็ไม่ได้หายไปไหน ยังคงได้ผลตอบแทนตามปกติ
การกำหนดวงเงินจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและนโยบายของแต่ละบริษัท และสภาวะตลาด วงเงินจะอยู่ในช่วง 200,000 – 500,000 บาท ซึ่งถ้าคุณซื้อขายหุ้นไประยะหนึ่งแล้วได้รับการพิจารณาว่าคุณเครดิตดี โบรกเกอร์ก็อาจให้คุณถอนออกมาได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม | |||||||||
ขั้นตอนการเปิดบัญชี | |||||||||
ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล คุณก็สามารถเปิดบัญชีได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนที่โบรกเกอร์กำหนด ซึ่งคุณสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่การตลาดของโบรกเกอร์ก่อนที่จะเปิดบัญชีได้ และก่อนที่คุณจะลงนามเอกสารใด ๆ คุณควรจะอ่านรายละเอียดเงื่อนไขในเอกสารต่างๆ ของโบรกเกอร์ให้รอบคอบ (เอกสารที่ใช้สำหรับแต่ละโบรกเกอร์ อาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย) โดยทั่วไปแล้วก็จะมีขั้นตอนที่คุณจะต้องกระทำ ดังนี้
1. ติดต่อขอเอกสารการเปิดบัญชี สัญญาและเอกสารแนบต่าง ๆ ที่ใช้ในการเปิดบัญชี ได้ที่สำนักงานของโบรกเกอร์ที่คุณเลือกก็ได้
2. กรอกรายละเอียดใบคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ให้ครบถ้วนพร้อมเซ็นชื่อ และแนบเอกสารประกอบการเปิดบัญชี ส่งให้กับโบรกเกอร์
3. รอผลการพิจารณาจากโบรกเกอร์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
4. เมื่อได้รับการอนุมัติให้เปิดบัญชีแล้ว คุณจะได้รับแจ้งเลขที่บัญชี หรือรหัสประจำตัวลูกค้าซึ่งจะใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขาย เปลี่ยนแปลง ยกเลิก
รวมทั้งการชำระเงิน หรือในการติดต่อใด ๆ กับโบรกเกอร์ รหัสนี้คุณต้องเก็บเป็นความลับ เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจมีผู้แอบอ้างทำให้เกิดความเสียหายได้ | |||||||||
โบรกเกอร์พิจารณารับลูกค้าอย่างไร | |||||||||
โบรกเกอร์แต่ละแห่งก็จะมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการรับลูกค้าแตกต่างกัน คุณคงจะต้องสอบถามรายละเอียดและต่อรองกับบริษัทเองด้วย แต่โดยทั่วไป ก็จะมีมาตรฐานที่คล้ายคลึงกัน คือ พิจารณาฐานะการเงินและความสามารถในการชำระหนี้จากความน่าเชื่อถือของคุณ พิจารณาหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงทรัพย์สิน รายได้หรือตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกค้า และหลักฐานการค้ำประกัน เพื่อกำหนดวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาความเหมาะสมด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเป้าหมายการลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ และระดับการยอมรับความเสี่ยง รวมถึงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ภาระหนี้สิน เป็นต้น เพื่อกำหนดประเภทบัญชีและวิธีการให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย
เรารวบรวมลิงค์ข้อมูลการเปิดบัญชีแบบดั้งเดิมของโบรกเกอร์ที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัทเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเปิดบัญชีของคุณ หากคุณต้องการติดต่อสอบถามโบรกเกอร์อื่น คุณหาข้อมูลสำหรับติดต่อบริษัทได้ที่นี่
Credit : http://www.settrade.com
|
เดินทางไปด้วยกัน กับการก้าวสู่หนทางของนักลงทุนในหุ้น โดยวิเคราะห์ทางพื้นฐาน และวิเคราะห์ทางเทคนิค กราฟหุ้น ควบคู่กัน ให้เรียกได้ว่าลงทุนในหุ้นไม่ใช่การเล่นหุ้น เพื่อก้าวสู่ความมีอิสรภาพทางการเงิน.
สรุปภาวะตลาด
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556
เปิดบัญชีซื้อขาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น