ปุจฉา: การเป็นนักลงทุนนั้นถือได้ว่าเป็นวาณิช และวาณิชนั้นสามารถเป็นเศรษฐีได้ ขอพระอาจารย์ขยายความในส่วนของ สมชีวิต หรือใช้ชีวิตพอเพียงแก่นักลงทุน และให้แนวทางสู่การเป็นเศรษฐีที่มีความสุข
วิสัชนา: ถ้าเราอยากจะรู้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงไปกันได้กับ การลงทุนในหุ้นไหม เราก็ต้องมาดูก่อนว่า อะไรคือปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ท่านบอกว่า ให้มีเหตุผล ให้รู้จักพอประมาณ และทำาอะไรต้องไม่ประมาท ใช้ทาง สายกลาง หยัดยืนบนขาของตนเอง สำาคัญที่สุด ต้องมีเงื่อนไข คุณธรรมด้วย ถ้าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างนี้ คือ ยึดหลักความจริง ไม่วูบวาบไปกับฟองสบู่ ท่านทรงรับสั่ง เสมอว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชีวิต ถ้าเป็น อย่างนี้ การลงทุนในหุ้นก็เป็นสิ่งที่ไปกันได้ แต่สิ่งที่เรา เข้าใจผิดก็คือ เวลาที่พูดถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรามักจะคิดว่าพระองค์ท่านสอนให้เรายากจน นี่คือความ เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง คงไม่มีผู้นำาประเทศไหน อยากให้ ประชาชนพลเมืองของตัวเองยากจนกันทั้งประเทศ เพราะนั่น หมายถึงประเทศที่ไม่มีอนาคต แท้ที่จริง ถ้าเราพอเพียง เราก็ จะยิ่งมั่งคั่ง เพราะยิ่งพอก็ยิ่งพัฒนา หรือยิ่งพอก็ยิ่งพัฒน์ หมายความว่า ถ้าเราพอส่วนตน ที่เหลือเราก็เจือจานสังคม ยิ่งพอเพียงกลายเป็นประเทศยิ่งได้รับสวัสดิผล เพราะ ทรัพยากรจะถูกกระจายจากคนที่พอแล้วไปยังคนที่ยังไม่มี หรือมีแต่ยังไม่พออยู่พอกิน ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงหลักๆ จะทำาให้เรามั่งคั่งอย่างยั่งยืน และการกระจายทรัพยากรนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปอย่างยุติธรรมและทั่วถึง นี่ต่างหาก คือสิ่งที่ ถูกต้อง แม้แต่หลักพุทธศาสนา พระพุทธองค์ยังทรงตรัสไว้ว่า “ความงามของกษัตริย์คือการมีรัฐที่มั่งคั่ง” ฉะนั้นพระองค์ ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ย่อมทรง เข้าใจปรัชญาการเมืองการปกครองเป็นอย่างดี ปัญหาก็แต่ เราทั้งหลายที่มีพ่อที่ลึกซึ้ง แต่เราช่างเป็นลูกที่ตื้นเขิน ถ้าเรา จับเอาหัวใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ การลงทุนใน ตลาดทุนก็เป็นเรื่องที่ไปกันได้ เพราะเราต้องใช้คุณธรรม ซึ่งเป็น เงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างครบถ้วนเลยทีเดียว
สำาหรับ “สมชีวิตา” คือ การรู้จักใช้ชีวิต หมายความว่า คุณประมาณตัวเองออก บอกตัวเองได้ ใช้ตัวเองเป็น ว่าสถานภาพทางการเงินของคุณมีแค่ไหน ถ้าคุณประมาณ ตัวเองออกว่าสถานภาพทางการเงินของคุณยังต้องหาเช้า กินคำาอยู่ แล้วคุณใช้เงินมือเติบ จ่ายเติบ หน้าใหญ่ใจโต รายได้ตำาแต่รสนิยมสูง นี่ถือว่า ผิดหลักพอเพียง แต่ถ้าคุณ บอกว่าตนเป็นคนจน ยังหาเช้ากินคำา คุณก็ต้องรู้จักประมาณ การค่าใช้จ่ายของคุณให้พอเหมาะกับสถานภาพของคุณที่ พอเพียงแบบคนจน แต่ถ้าคุณเป็นคนรวย มีเงินเป็นหมื่นล้าน อยู่แล้ว คุณมานุ่งเสื้อม่อฮ่อม สวมหมวกแบบชาวนา มาใช้ ชีวิตนุ่งเจียมห่มเจียม ถ้าอย่างนั้นต้องถือว่าไม่รู้จักสถานภาพ ทางการเงินของตนเอง ไม่รู้จักครองชีวิตให้พอเหมาะพอสม กับศักยภาพและสถานภาพทางการเงินของตนเอง ฉะนั้น เราควรประเมินก่อนว่า หนึ่ง ประเมินสถานภาพทางการเงิน ของเรา สอง เราจะใช้ชีวิตแค่ไหน ถ้าคุณยังจนก็ให้พอเพียง อย่างคนจน รู้จักประมาณตน แต่ถ้าคุณเป็นเศรษฐี ฐานะการเงินมั่นคงแล้ว คุณก็ใช้ชีวิตอย่างเศรษฐีได้ แล้วทางสายกลางอยู่ตรงไหน ก็อยู่ตรงที่คุณเป็นเศรษฐีที่ ไม่เบียดเบียนตนและไม่เบียดเบียนคนอื่น ตรงนี้ต่างหากที่ เป็นทางสายกลาง เรามักจะเข้าใจผิดว่า พุทธกับธุรกิจ พุทธกับ ความรวย เข้ากันไม่ได้ เป็นโลกทัศน์ที่ผิดกันอย่างสิ้นเชิง เพราะถ้าไปกันไม่ได้ อภิมหาเศรษฐีก็เกิดไม่ได้ ที่คุณโยม ถามคือ พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง “หัวใจเศรษฐี” เอาไว้นั้น คุณโยมลองพิจารณาดูว่าไปด้วยกันได้มั้ย
หัวใจเศรษฐีมี 4 ข้อที่คนโบราณท่องกัน พ่อค้าแม่ขายที่เป็นชาวบ้าน ร้านโชห่วย เป็นผู้ประกอบการรายย่อย เอส เอ็ม อี เวลาไปหาพระ พระจะเป่ากระหม่อม “พ่วง” “อุ-อา-กะ-สะ-รวย” ผลคือ พระรวย แต่โยมจน นี่เรียกว่า เราเอาหัวใจเศรษฐีมา แต่เราไม่ได้เอาแก่นมา คำาว่า “อุ-อา-กะ-สะ” นั้น อุ มาจากคำาว่า อุฎฐานสัมปทา แปลว่า ขยัน อา มาจาก อารักขสัมปทา แปลว่าหมั่นรักษา กะ มาจาก กัลยาณมิตตตา คือให้คบคนดี สะ มาจาก สมชีวิตา คือ มีชีวิตที่พอเพียง พระองค์ท่านก็หยิบเอา สมชีวิตา มาใช้ คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ฉะนั้น “อุ-อา-กะ-สะ” หรือ “หัวใจเศรษฐี” คือ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ใครทำาได้คนนั้นก็รวย เห็นมั้ยพระพุทธองค์ไม่เชยเลยนะ ขยันหา ก็หมายความว่า ให้เราขยันทำามาหากิน ขี้เกียจอย่างไรก็ไม่รวย เงินทองนั้นเป็นของกลางวางอยู่ทุกแห่งหน ใครขยันคนนั้นก็ได้ถือครอง ฉะนั้นเราต้องขยันหา รักษาดี คือ เมื่อได้เงินมาแล้วต้องมีการบริหารจัดการเงินให้เป็น การบริหารจัดการเงินให้ทำาดังต่อไปนี้ หนึ่ง เก็บไว้เป็นเงินคงคลังเพื่อความมั่นคงของชีวิต คุณได้เงิน มาแล้วต้องแบ่งก้อนเงินเอาไว้ เป็นเงินสำารองคงคลังเพื่อความมั่นคงของชีวิต คนมีเงินจึงสุขภาพจิตดี เพราะรู้ว่าเขามั่นคง พระพุทธองค์ก็เข้าใจดีนะ สอง นำามาเลี้ยงชีพเลี้ยงชีวิต ให้ตัวเอง ญาติ พี่น้อง บริษัท บริวาร กินอิ่ม นอนอุ่น คือ คุณหามาได้ คุณก็ต้องใช้ให้เป็นด้วย ไม่ใช่เก็บอย่างเดียวเป็น ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ แต่ให้ตัวเองและญาติพี่น้องได้กินอิ่ม นอนอุ่น ข้อสาม คือ เอาเงินไปต่อเงิน คือ ทำาธุรกิจด้วย แสดงว่าพระพุทธองค์เข้าใจเรื่องการลงทุนเป็นอย่างดี ประการที่สี่ พระองค์ท่านใช้คำาว่า “ราชพลี” แปลว่า เสียภาษีให้รัฐด้วย ทันสมัยมั้ยคุณโยม พระพุทธองค์ให้เสียภาษีแก่รัฐด้วย ข้อห้า ท่านบอกว่า บำารุงศาสนชีพราหมณ์และผู้ทรงศีล ซึ่งเป็นสดมภ์หลักทางจิตใจและปรัชญาของสังคม ให้ท่านได้กินอิ่ม นอนอุ่นจะได้มีเรี่ยวแรงในการแสดงพระธรรมคำาสอน ยึดกุม จิตใจประชาชนให้มีบรรทัดฐานทางจริยธรรมจะได้อยู่ ร่วมกันในสังคมที่สันติ ข้อสุดท้าย ท่านบอกว่า ให้ทำาบุญให้กับ ญาติวงศาที่ล่วงลับไปแล้ว ใช้เงินเพื่อความกตัญญู คุณโยมจะ เห็นว่าหลักการใช้เงินของพระพุทธองค์ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้น ที่ถามมา อาตมาจึงกล้ายืนยันได้เลยว่าเราสามารถใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ในการลงทุนและการทำาธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น