วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปุจฉา: ทำไมนักลงทุนจึงจำเป็นต้องใช้ธรรมะเป็นหลักนำ

ปุจฉา: ทำไมนักลงทุนจึงจำเป็นต้องใช้ธรรมะเป็นหลักนำ


ทำไมนักลงทุนจึงจำเป็นต้องใช้ธรรมะเป็นหลักนำวิสัชนา: ธรรมะจำาเป็นสำาหรับนักการเงินและนักลงทุน  เพราะผู้ที่อยู่ในภาคการเงิน การลงทุนอยู่กับเงินทั้งของตนเอง และของคนอื่น เขาเรียกว่าเป็นวาณิช ธุรกิจที่เขาทำาจึงมีชื่อว่า “วาณิชธุรกิจ” คนไทยหยิบเอาคำาว่า “ธุรกิจ” มาใช้แทนคำาว่า  “วาณิช” แต่ในบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหลายก็ยังคงใช้คำาว่า  “วาณิชธนกิจ” อยู่ วาณิช หมายถึง คนที่มีเงินมาก คนที่รำารวย  คนที่มั่งคั่ง คนที่ถือครองทรัพยากรเงินเป็นจำานวนมาก นี่คือ “วาณิช” แต่ถ้าวาณิชคนไหนรวยแล้วก็ให้ ได้แล้วก็แบ่งปัน  วาณิชคนนั้นจะขยับฐานะขึ้นมาเป็นเศรษฐี แต่ในเมืองไทย  นิยามคำาว่า “เศรษฐี” ว่าหมายถึง คนรวย แต่แท้จริง ในทางพุทธศาสนา ท่านแยกกัน คนรวยธรรมดาๆ ถือครอง ทรัพยากรการเงินมากกว่าชาวบ้าน ท่านเรียกว่า “ว�ณิช”  แต่วาณิชที่รวยแล้วก็ให้ ได้แล้วก็แบ่งปัน ท่านเรียกว่า “เศรษฐี”  เพราะ “เศรษฐี แปลว่า ผู้ประเสริฐ” คนที่เป็นวาณิชก็สามารถ เป็นเศรษฐีได้ คนที่เป็นเศรษฐีก็สามารถเป็นวาณิชได้ ถ้ารู้จัก จับหัวใจที่ว่า “รวยแล้วให้ ได้แล้วแบ่งปัน”

ในสมัยพุทธกาลมีมหาเศรษฐีซึ่งแต่เดิมเป็นวาณิช มีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้ มหาเศรษฐีท่านนี้ชื่อ “สุทัตตะวาณิช”  อาตมาเรียกท่านว่า บิลเกตส์แห่งยุคพุทธกาล เพราะใช้เงิน สร้างวัดประมาณพันล้านบาท วาณิชคนนี้ รำารวยจากการเป็น วาณิชด้วยตัวเอง แล้วก็ตั้งโรงทาน 4 มุมเมือง ให้ทานทุกวัน  แจกข้าวปลาอาหาร จนคนยกย่องเป็นสุดยอดของผู้ให้และ ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี อนาถะ คือ อนาถา  บิณฑ แปลว่า ก้อนข้าว มหาเศรษฐี คือ วาณิชที่รู้จักแบ่งปัน  อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี แปลว่า มหาเศรษฐีที่ให้ก้อนข้าว แก่คนอนาถา จนคนลืมชื่อเดิม และเรียกสามานยนามซึ่งเป็น

ชื่อที่ได้จากการทำาคุณงามความดี อย่างคุณบุญชู โรจนเสถียร  ได้ฉายาว่าเป็นซาร์เศรษฐกิจ (Czar) นี่คือตัวอย่างของคนที่เปลี่ยนตัวเองจากนักลงทุนธรรมดาเป็นมหาเศรษฐี เพราะรู้จัก เปลี่ยนเงินเป็นบุญ เปลี่ยนทุนเป็นธรรม ท่านอนาถบิณฑิก มหาเศรษฐีคนนี้ได้สละทรัพย์สินของตัวเองจำานวนมหาศาล สร้างวัดให้พระพุทธองค์ประทับ วัดนี้คือ วัดเชตวันมหาวิหาร  เป็นวัดที่มีการวาง Landscape ที่ดีมากๆ ทุกวันนี้นักศึกษา จำานวนมากที่เรียนด้านการออกแบบ ด้านสถาปัตย์โบราณ นิยม ไปศึกษาการวางแผนผังของวัดนี้ และเป็นวัดที่พระพุทธองค์ ประทับถึง 19 พรรษา มากกว่าทุกวัดในพุทธกาล เพราะ

คฤหาสน์ของเศรษฐีอยู่ตรงข้ามวัด พระพุทธองค์สนิทสนม คุ้นเคยกับมหาเศรษฐีผู้นี้มาก เพราะเข้าวัดบ่อยครั้งเกือบทุกวัน  และมีความสนิทสนมกับพระพุทธองค์เป็นอย่างดี ท่านเลื่อน ตัวเองมาเป็นมหาเศรษฐีเพราะรวยแล้วก็ให้ ได้แล้วแบ่งปัน  ทั้งแก่สาธารณชนและพระศาสนาเช่นนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งประจักษ์ พยานว่า ธรรมะกับเรื่องธุรกิจไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี ไม่ได้ขัดแย้งเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น